forex news today

เนื่องจากการอัปเดตรายงานผลปฏิทินทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความผันผวนกับค่าเงินที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักเทรด(เก็งกำไร)ทุกๆท่าน ทางทีมงานจึงได้อัพเดทตารางข่าวและการคาดการณ์ปฏิทินเศรษฐกิจที่สำคัญทุกวัน

ท่านสามารถติดตามการอัปเดตอีกช่องทางได้ที่ Forexinthai แฟนเพจเฟซบุ๊ก หากท่านสนใจการวิเคราะห์ สัญญานเทรด หรือแนวโน้มทิศทางตลาด ที่อัพเดทถี่ๆ รายชั่วโมงทั้งวัน อย่าลืมไปที่หน้า >> วิเคราะห์ Forex รายชั่วโมง กันนะครับ 

อัปเดตตารางปฏิทินเศรษฐกิจวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๘

economic calendar analysis forexinthai todays ok7
UI ตารางข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญเกี่ยวกับตลาด Forex วันนี้U

ตารางข่าวที่สำคัญของวันนี้ตามเวลาประเทศไทยคือ

  • 10:00 JPY การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
  • 19:30 USD จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
  • 20:45 USD ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต (เม.ย.)
  • 21:00 USD ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) (เม.ย.)

รายละเอียดเพิ่มเติม

การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ญี่ปุ่น
สมาชิกคณะกรรมการนโยบายของธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan (BOJ)) ได้ลงมติเห็นพ้องเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ย นักเก็งกำไรต่างเฝ้าติดตามคำพูดของเขาอย่างใกล้ชิดเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดค่าเงินตรา

ค่าที่สูงกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงบวก/ตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงินเยนขณะที่ค่าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงลบ/ตลาดหมีสำหรับสกุลเงินเยน

จำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก สหรัฐอเมริกา
รายงานจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) จะวัดค่าจำนวนของผู้ที่ยื่นคำร้องเพื่อขอรับการประกันการว่างงานเป็นครั้งแรกในระหว่างช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรายงานนี้เป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ประกาศล่วงหน้ามากที่สุดแต่ผลกระทบต่อตลาดนั้นหลากหลายแล้วแต่สัปดาห์นั้นๆ

ค่าที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ถือว่าเป็นลักษณะ เชิงลบ/ตลาดหมี สำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ค่าที่ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงบวก/ตลาดกระทิง สำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต สหรัฐอเมริกา
รายงาน’ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลติ(Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI)) จะเป็นตัวชี้วัดในระดับกิจกรรมของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ค่าตัวเลขใดๆ ที่มีค่าเกิน 50 ชี้แสดงว่ามีการขยายตัวในขณะที่ค่าตัวเลยที่ต่ำกว่า 50 จะชี้ถึงการหดตัว นักเก็งกำไรจะติดตามรายงานการสำรวจนี้อย่างใกล้ชิดเนื่องจากผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยหน้าที่การทำงานแล้วนั้นจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลการประกอบกิจการของบริษัทได้ก่อนซึ่งจะเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญต่อผลการปฏิบัติการทางเศรษฐกิจโดยรวม ค่าที่สูงกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงบวก/ตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ค่าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงลบ/ตลาดหมีสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) สหรัฐอเมริกา
รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI)) จากสถาบัน Institute of Supply Management (ISM) โดยรายงานนี้จัดทำขึ้นจากข้อมูลการตอบคำถามของผู้บริหารฝ่ายการจัดซื้อและการจัดหา โดยการสอบถามคำถามนี้ได้จัดทำขึ้นแบบรายเดือนในบริษัทกว่า 400 บริษัทในภาคอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีแต่ละตัวที่ได้วัดค่า (นั่นก็คือ ดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งซื้อคงค้าง คำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออก การนำเข้า การผลิต การจัดส่งสินค้าของผู้จัดหา สินค้าคงคลัง สินค้าคงคลังของลูกค้า การจ้างงาน และราคา) นั้นรายงานชุดนี้จะแสดงค่าร้อยละที่จะรายงานข้อมูลของการตอบคำถามในแต่ละข้อ ค่าความแตกต่างสุทธิระหว่างจำนวนของคำตอบในทิศทางเศรษฐกิจเชิงบวกและเชิงลบและแสดงดัชนีการกระจาย (diffusion index) การตอบคำถามเหล่านี้เป็นข้อมูลดิบและจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

ดัชนีการกระจายนั้นจะรวมถึงค่าร้อยละของคำตอบในลักษณะเชิงบวกรวมเข้ากับครึ่งหนึ่งของคำตอบที่ตอบคำถามข้อเดียวกัน (ที่ถือว่าเป็นบวก) จากนั้นนำจำนวนตัวเลขดัชนีเลขเดี่ยวที่ได้มาปรับค่าตามฤดูกาลซึ่งเป็นการคำนึงถึงผลของความผันผวนแบบซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นภายในปีนั้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความแตกต่างโดยทั่วไปทางสภาพอากาศ การดำเนินการของหน่วยงานองค์กรที่หลากหลาย และความแตกต่างที่เป็นผลมาจากวันหยุดต่างๆ ที่กำหนดวันแบบคงที่ กระทรวงพาณิชย์แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นผู้กำหนดปัจจัยการปรับเปลี่ยนตามฤดูกาลทั้งหมดและในแต่ละปีจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อยจะกระทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

ดัชนี PMI นี้เป็นดัชนีแบบรวมที่ซึ่งยึดตามดัชนีการกระจายต่างๆ ที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้วนั้นจะประกอบไปด้วยตัวบ่งชี้ห้าประเภทที่มีคะแนนถ่วงน้ำหนักที่หลากหลายดังนี้: คำสั่งซื้อใหม่ –30% การผลิต –25% การจ้างงาน –20% การจัดส่งสินค้าของผู้จัดหา –15% และสินค้าคงคลัง –10%

ค่าที่สูงกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงบวก/ตลาดกระทิงสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐขณะที่ค่าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงลบ/ตลาดหมีสำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขที่ประกาศแบบเรียลไทม์ได้ที่  คลิก