Leonardo Fibonacci Retracement

วิธีใช้ และ การตั้งค่า Fibonacci อย่างละเอียด

อัปเดตล่าสุด:
post view Post views: 8,167

Fibonacci   หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า fibo (ฟิโบ) เป็นอีกอินดิเคเตอร์ตัวหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นกัน เป็นเครื่องมือวิเคาะห์ทางเทคนิคที่ช่วยหา แนวรับ-แนวต้าน, จุดเข้า-จุดออก, จุดกลับตัว, เป้าหมายราคา, ความแข็งแกร่งของราคา อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ กับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ราจะมาเรียนรู้วิธีใช้ และการตั้งค่า Fibonacci อย่างละเอียดกันครับ

fibonacci leonardo pisa

ที่มาของชื่อ ฟิโบ มาจาก ชื่อผู้ที่คิดค้นคือ Leonardo Fibonacci เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ซึ่งเขาได้รับการยอมรับว่า เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เก่งที่สุดในยุคกลาง

รูปแบบการใช้งานของอินดิเคเตอร์ Fibonacci ที่อยู่ในโปรแกรม MT4 นั้น แยกออกเป็น 5 ตัวเลือก ประกอบด้วย

  • การย้อนกลับ
  • โซนเวลา
  • พัดลม
  • ส่วนโค้ง
  • การขยาย

ในส่วนของบทความนี้ จะขอกล่าวถึง เฉพาะตัวเลือกที่นิยมใช้กันอยู่บ่อยๆ คือ Fibonacci Retracement, Fibonacci Fan และ Fibonacci Expansion

การตั้งค่า Fibonacci Retracement (MT 4)

ให้ไปที่ Insert > Fibonacci > Retracement แล้วทำการลากเส้นขึ้นหรือลงบนกราฟ จากนั้นจะปากฎตัวเลขที่เป็นสัดส่วนเกิดขึ้นบนกราฟ ตามตัวอย่าง (เป็นตัวเลขแสดงสัดส่วนเท่านั้น ยังไม่มีตัวเลขแสดงราคาประกอบ)

การตั้งค่า-Fibonacci-การย้อนกลับ

จากนั้นให้คลิกที่ Fibo Levels แล้วเติม =%$ ลงท้ายตัวเลขที่ช่อง Descriptions ทุกตัว แล้วคลิกตกลง Fibonacci Retracement ก็จะแสดงสัดส่วนที่เป็นราคาประกอบ ดังภาพตัวอย่าง

ตั้งค่า Fibonacci-Retracement-to-show-price

การปรับตั้งค่า Level และ Descriptiom (ที่แนะนำ)

ตั้งค่า Fibonacci-Retracement เพื่อแสดงราคา-แนะนำ-ตกลง

การใช้ Fibonacci Retracement วิเคราะห์ตลาด

การนำ Fibonacci Retracement มาวิเคราะห์ตลาดนั้น ก่อนอื่นต้องดูและเข้าใจตลาดก่อนว่า กำลังไปทางไหน อยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง หรือ ไซท์เวย์ แล้วหาจุดต่ำสุดและสูงสุด (สวิงโลว์และ สวิงไฮ) จากนั้นให้ลากเส้นเข้าหากัน ซึ่งวิธีการลากเส้นนั้นมีหลักวิธีการจำง่ายๆดังนี้ คือ 

  • ถ้าตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น ให้คลิกลากเส้นจากจุดสูงสุด – มายังจุดต่ำสุด (จากสวิงไฮมาสวิงโลว์) จะสังเกตเห็นตัวเลขที่เป็นสัดส่วนว่า 100 อยู่จุดสูงสุด (สวิงไฮ) และ 0 อยู่จุดต่ำสุด (สวิงโลว์)
  • ถ้าตลาดอยู่ในช่วงขาลง ให้คลิกลากเส้นจากจุดต่ำสุด – ไปยังจุดสูงสุด (จากสวิงโลว์ไปสวิงไฮ) จะสังเกตเห็นตัวเลขที่เป็นสัดส่วนว่า 100 อยู่จุดต่ำสุด (สวิงโลว์) และ 0 อยู่จุดสูงสุด (สวิงไฮ)

ตัวอย่าง การลากเส้น Fibonacci Retracement เพื่อวิเคราะห์ตลาดในแนวโน้มขาขึ้น

fibo ขึ้นขาขึ้น

ปกติโดยทั่วไปราคาจะพักตัวอยู่ที่บริเวณ 61.8 , 50.0 และ 38.2 ในการหาทิศทางของตลาดนั้น ก็ให้ดูว่าราคามันกำลังวิ่งออกจากกรอบ (สัดส่วน) ไปฝั่งไหน ก็ให้เราเข้าออเอดร์ในฝั่งนั้น เช่น สมมุติว่าราคามันทะลุ 78.6 ขึ้นมา(วิ่งขึ้น) เราก็ทำการ Buy ได้เลย โดยมีเป้าหมายแรกจะอยู่ที่ 100 (High) เป้าหมายที่สองคือ 161.8 (Target) เป้าหมายที่สามคือ 261.8 (Target) ตามลำดับ

ส่วนในกรณีที่ราคาวิ่งไปอีกฝั่งที่ตรงกันข้าม (วิ่งลง) เช่น ราคาวิ่งทะลุ 23.6 ลงมา เราก็ทำการ Sell ได้เลย เป้าหมายแรก 0.00  เป้าหมายต่อมา 161.8 (Target) และเป้าหมายล่าสุด 261.8 (Target) เช่นกัน 

ตัวอย่าง การเข้าออเดอร์ และกำหนดเป้าหมายตาม  Fibonacci Retracement (จากแนวโน้มขาขึ้น)

ตัวอย่าง- การลากเส้น-ฟีโบนัชชี-การย้อนกลับ-เพื่อ-การวิเคราะห์-ตลาด-ใน-แนวโน้มขาขึ้น-ตกลง-เพิ่มเติม

Divergence Zone  (ตำแหน่งสัญญาณการกลับตัว)

Divergence Zone เป็นบริเวณที่ให้สัญญาณเตือนอาจจะมีการกลับตัวของราคา เราสามารถใช้ โซน Divergence นี้เพื่อหาการเกิดดับเบิ้ลท็อบหรือดับเบิ้ลบัททอลได้ ในกรณีที่ ราคาวิ่งผ่าน เป้าหมายแรก (คือขาขึ้น = 100, ขาลง = 0.00 ) จากนั้นราคาได้วิ่งไปยัง Divergence Zone คือบริเวณ 116-127 (ทั้งขาขึ้นและขาลงที่) ในขณะที่เป้าหมายที่สองของเรา อยู่ที่ 161.8 แต่ราคาไปไม่ถึง มีการเด้งกลับต้วอยู่ ช่วงเวลา ณ ขณะนั้นควรมีการ stoploss ก่อน แล้วค่อยหาจังหวะเข้าใหม่อีกทีในภายหลัง

Retracement Zone (จุดพักตัวหรือแนวรับแนวต้าน)

Retracement Zone คือบริเวณที่ราคามีการฟักตัวอยู่ หากราคาวิ่งขึ้นตำแหน่งก็จะอยู่ระหว่าง 61.8 – 78.6 และถ้าราคาวิ่งลง ตำแหน่งจะอยู่ที่ 38.2- 23.6 ในการเข้าออเดอร์ buy หรือ sell นั้น  ราคาก็ควรจะยู่ที่ 78.6 (กรณีราคาขึ้น) หรือ 23.6 (กรณีราคาลง) แต่ถ้าหากเป็นวัยรุ่นใจร้อน ก็อาจจะเข้าออเดอร์ buy หรือ sell เลย ที่ตำแหน่ง 61.8  (กรณีราคาขึ้น) หรือ 38.2 (กรณีราคาลง) เพราะขี้เกียจรอนานนั่นเอง

ในส่วนของการใช้ Fibonacci Retracement วิเคราะห์ตลาดในแนวโน้มขาลง 

จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับแนวโน้มขาขึ้นทุกอย่าง แตกต่างก็เฉพาะมันสลับกันเท่านั้นเอง สรุปแล้ว ไม่ว่าจะใช้ Fibonacci Retracement วิเคราะห์ตลาดไหน จะขาขึ้นหรือขาลง ความแมนยำจะให้ได้ 100 % เลยคงไม่ได้ เพราะตลาดมันมีความผันผวนไม่แน่นอน ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญจึงอยู่ที่ การดูตลาดโดยรวมว่าเป็นอย่างไร อยู่ในเทรนด์ไหน ขาขึ้นหรือขาลง หรือกำลังไซต์เวย์ แล้วให้ยึดเอาตามหลักของตลาดที่กำลังเป็นอยู่ ใช้เป็นแนวทางช่วยในการตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยง หรือความผิดพลาดในอนาคต

การใช้งาน Fibonacci Fans

เราสามารถใช้ Fibonacci fans หาแนวโน้มหรือสังเกตการเปลี่ยนแปลงของราคาซึ่งอาจจะมีการกลับตัว โดย Fibonacci fans จะอยู่ในโซนพักตัวที่เรียกว่า Retracement Zone มีตัวเลขที่ประกอบด้วย 38.2 , 50.0 , 61.8 การนำมาใช้งานให้ไปที่ เมนู Insert > Fibonacci > Fan ตามตัวอย่าง

แทรกฟีโบนัชชี-แฟน

สำหรับวิธีการลากเส้น Fibonacci fans ก็เหมือนกับ Fibonacci Retracement นั้นก็คือ

  • ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น = ลากเส้นจากจุดต่ำสุดไปยังจุดสูงสุด (Swing Low -to – Swing High)
  • ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง = ลากเส้นจากจุดสูงสุดมายังจุดต่ำสุด (Swing High – to – Swing Low)

สำหรับวิธีการสังเกต จากการนำ Fibonacci fans มาใช้ทั้งขาขึ้นและขาลง คือ โดยทั่วไปราคาจะพักตัวอยู่ที่บริเวณ Retracement Zone แต่ถ้าราคาวิ่งทะลุเส้น 61.8 นั่นคือสัญญาณเตือนว่า ราคาอาจมีการกลับตัว แนวโน้มที่เป็นอยู่อาจมีการสวนทาง และยิ่งถ้าราคามีการไต่เส้น Fibonacci Fans มาแล้วในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นั่นหมายถึง ราคาดังกล่าว มีโอกาสที่จะเด้งกลับจากแนวโน้มหลัก ก็เป็นได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับราคาที่กำลังอยู่ ณ บริเวณ Retracement  ให้ดีๆ

ตัวอย่าง การลากเส้น  Fibonacci fans ในแนวโน้มขาขึ้น (Swing Low -to – Swing High)

การตั้งค่า Fibonacci

ตัวอย่าง การลากเส้น  Fibonacci fans ในแนวโน้มขาลง (Swing High – to – Swing Low)

การตั้งค่า Fibonacci

การใช้งาน Fibonacci Expansion 

Fibonacci Expansion บางทีก็เรียกว่า Fibonacci Extension โดยทั้งสองชื่อนี้สามารถใช้เรียกแทนกันได้ ประโยชน์ของการนำมาใช้งานคือ ใช้วัดการยืดหรือขยายตัวของราคา และหาเป้าหมายของราคา(กำไร) การนำมาใช้งาน ให้ไปที่ เมนู Insert > Fibonacci > Expansion ตามตัวอย่าง
การตั้งค่า Fibonacci
วิธีการลากเส้น Fibonacci Expansion (FE)

การนำ Fibonacci Expansion มาใช้นั้น ก่อนอื่นต้องเป็นเทรนด์ที่มีรูปร่างลักษณะที่มีการพักตัวอยู่ด้วย โดยในอันดับแรก ให้หาจุดต่ำสุดและจุดสูงสุด (Swing Low & Swing High) แล้วทำการลากเส้น (FE) ไปตามจุดต่ำสุด – สูงสุดนั้น แล้วหลังจากนั้น (ท้ายสุด) ก็ให้ลากจากจุดสูงสุด ให้กลับไปยังจุดที่กำลังมีการพักตัวอยู่ (Retracement)

ตัวอย่างการลากเส้น FE เพื่อหาเป้าหมายกำไรในแนวโน้มขาขึ้น (Swing Low – Swing High – Retracement)

สำหรับตัวอย่าง วาดเส้นใน Fibonacci การขยายตัวและแนวโน้มขาขึ้น

ราคาเป้าหมายอันเป็นกำไร ที่ทุกๆท่านชื่นชอบก็คงเป็น FE 100.0 – FE 161.8  แต่โดยส่วนมากราคามักจะวิ่งมาชนแค่ FE 61.8 ถึง FE 100.0  กรณีที่วิ่งไปถึง FE 161.8 หรือทะลุ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่คงจะไม่บ่อยนัก

ตัวอย่างการลากเส้น FE เพื่อหาเป้าหมายกำไรในแนวโน้มขาลง (Swing High – Swing Low – Retracement)

ตัวอย่างเช่น วาดเส้น Fibonacci การขยายตัวในแนวโน้มขาลง

ราคาเป้าหมายอันเป็นกำไร ที่ทุกๆท่านชื่นชอบก็คงเป็น FE 100.0 – FE 161.8  แต่โดยส่วนมากราคามักจะวิ่งมาชนแค่ FE 61.8 ถึง FE 100.0  กรณีที่วิ่งไปถึง FE 161.8 หรือทะลุ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่คงจะไม่บ่อยนักเช่นกัน