สร้างกำไร จากรูปแบบ กราฟ Forex ทั้ง 7

สร้างกำไร จากรูปแบบ กราฟ Forex ทั้ง 7

อัปเดตล่าสุด:
post view Post views: 4,166

โดยทั่วไป รูปลักษณ์ของกราฟแท่งเทียน หรือรูปแบบของราคา (Price Pattern)ที่ปากฎในแต่ล่ะช่วงเวลา (Time frame) มีลักษณะหลากหลายรูปแบบ ในบทความนี้ จะขอหยิบยกเอาเฉพาะ รูปแบบของกราฟแท่งเทียนหรือรูปแบบของราคา ที่นักลงทุน forex ส่วนใหญ่ นิยมใช้วิเคราะห์หาจุดเข้าเทรดเพื่อทำกำไร ซึ่งประกอบด้วย

กราฟ Forex ที่มีรูปแบบทั้ง 7 ดังนี้

  • สามเหลี่ยมธง (Symmetrical Triangles)
  • สามเหลี่ยมเฉียงขึ้น (Ascending Triangles)
  • สามเหลี่ยมเฉียงลง (Descending Triangles)
  • หัวยก (Double Top)
  • ก้นหยัก (Double Bottom)
  • หัวและไหล่ (Head and Shoulders)
  • หัวและไหล่กลับหัว (Reverse Head and Shoulders)

 

1.สามเหลี่ยมธง (Symmetrical Triangles) แบ่งย่อยออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

  • สามเหลี่ยมธง-ขาขึ้น (Symmetrical Triangles in an up trend)
  • สามเหลี่ยมธง-ขาลง (Symmetrical Triangles in a downtrend)

สามเหลี่ยมธง  (Symmetrical Triangles in an up trend) ลักษณะของกราฟแท่งเทียนก็เหมือนกับชื่อที่เรียกคือ เป็นรูปสามเหลี่ยมธง ที่เกิดจากปลายเส้นของแนวรับกับแนวต้าน เฉียงเข้าหากันจนเป็นรูปสามเหลี่ยม การที่เส้นแนวต้านกับแนวรับเฉียงบีบเข้าหากันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดแรงอัดฉีด ของราคา จนราคาระเบิดทำให้ทะลุ (Break out) เส้นแนวรับหรือแนวต้าน จากแรงของระเบิด ราคาจึงพุ้งกระฉูด แล้วกระโดนไปอย่างรวดเร็ว รูปแบบกราฟเช่นนี้ จึงเป็นอีกโอกาสหนึ่ง ในการหาจังหวะเข้าซื้อหรือขายของนักเก็งกำไรเป็นอย่างดี

ตัวอย่าง จังหวะเข้าเทรด และเป้าหมายกำไร (กราฟแท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมธง-ขาลง )

 

use symmetrical triangles for spot trading and target profit 1

จากตัวอย่างภาพข้างบน ซึ่งเป็นการอธิบายเกี่ยวกับการหาจังหวะเข้าเทรด และกำหนดเป้าหมายกำไร  ของกราฟแท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมธง-ขาลง (Symmetrical Triangles in a downtrend) ในกรณีที่เป็นขาขึ้น (Symmetrical Triangles in an up trend) หลักการหรือวิธีใช้ก็มีลักษณะแบบเดียวกัน แต่เป็นคนล่ะเทรนด์เท่านั้นเอง

 

2.สามเหลี่ยมเฉียงขึ้น (Ascending Triangles)

กราฟแท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมเฉียงขึ้น เกิดจากเส้นแนวต้านเป็นเส้นตรงหรือใกล้เคียง และมีเส้นแนวรับ เฉียงขึ้น เข้าหาเส้นแนวต้าน เมื่อเฉียงเข้าใกลักันมากๆ จะเกิดเป็นรูปแบบสามเหลี่ยมเฉียงขึ้น ทำให้ราคามีโอกาสที่จะระเบิด แล้วทะลุ (Break out)เส้นแนวรับหรือแนวต้านได้   ความหมายของกราฟรูปแบบนี้คือ แรงซื้อไม่สามารถทะลุแนวต้านได้ แต่แรงซื้อก็ยังสามารถผักดันราคาที่ต่ำ ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ  จากกราฟที่มีรูปแบบนี้ ในหลายๆสำนัก(หนังสือหรืออาจารย์) มักกล่าวว่าราคาที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นนั้น จะยังคงขึ้นต่อไป รูปแบบของกราฟ บางครั้ง (บ่อยเหมือนกัน) อาจจะการเกิด double top or triple top (false) หลอกเกิดขึ้นแต่ท้ายสุดราคาก็สามารถดีดตัวขึ้นไปต่อ หรืออาจจะสวนเทรนด์กลับก็ได้เช่นกัน

Ascending-Triangles-in-uptrend

 

ในมุมมองนักเขียนบทความนี้ ในฐานะที่เชื่อและได้ทำตามคำแนะนำของอาจารย์หลายๆท่าน ด้วยประสบการณ์ (เกือบ 20 ปี) และผ่านการขาดทุนมาอย่างโซกโซน ข้าพเจ้าเชื่อว่า 50/ 50 เนื่องจากดูจากหลายๆกราฟที่ผ่านมา ค่อนข้างจะตรงกันข้ามกับทฤษฎีเพราะมันมักกลับตัวจากขึ้นเป็นลงบ่อยเหมือนกัน

Ascending-Triangles-in-downtrend

ฉนั้นเรื่องกราฟควรฟังหูไว้หู ไม่ใช่เชื่อสนิทแล้วทำตามทั้งหมด เพราะบางสถานะการ ราคามันก็ไม่วิ่งตามทฤษฎีที่กล่าวอ้างกัน

 

3.สามเหลี่ยมเฉียงลง (Descending Triangles)

แท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมเฉียงลง ลักษณะรูปแบบของมัน ก็ตรงกันข้ามกับกราฟแท่งเทียนรูปแบบสามเหลี่ยมเฉียงขึ้น รายละเอียดโดยรวมทั้งหมดก็คล้ายคลึงกัน ต่างกันแค่มันเฉียงไปคนล่ะทาง (รู้แล้วล่ะครับอิอิ) สรุปรูปแบบของมันคือ เส้นแนวรับเป็นเส้นตรง ส่วนเส้นแนวต้านเป็นเส้นเอียง คือมันจะเอียงหรือเฉียงลงมาบรรจบกับเส้นแนวรับ รูปแบบเช่นนี้หมายถึง เส้นแนวต้านมีความแข็งแกร่งมาก  สถานะการณ์ตอนนี้บอกว่า ผู้ขายกำลังมาแรง แบบแซงทางโค้ง ผู้ขายอยู่เหนือผู้ซื้อ มีความได้เปรียบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาที่สูงสุด (High) ทยอยต่ำลงเรื่่อยๆ จนสามารถทะลุแนวรับได้ และยังคงปรับตัวลดลงต่อไป

สามเหลี่ยมเฉียงลง (Descending Triangles) คลิกเพื่อดูภาพขาย

ปกติโดยทั่วไป ตลาดที่เป็นช่วงขาลง จะวิ่งเร็วกว่าตลาดช่วงขาขึ้น ฉะนั้นการเข้าออเดอร์ Sell จึงเป็นโอกาสของทำกำไรที่ดีและเร็วกว่า ออเดอร์ Buy นั่นเอง แต่ก็ต้องเข้าให้มันถูกทางด้วยนะครับ ไม่ใช้่ไปเข้าออเดอร์ sell กับตลาดที่มันกำลังวิ่งขึ้น (!!แซวเล่น อิอิ)

 

4.หัวหยัก หรือ ตัว M  (Double Top)

กราฟเเท่งเทียนรูปแบบหัวหยัก หรือตัว M มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Double Top มีลักษณะคือ ราคาวิ่งขึ้นมาชนแนวต้าน 2 ครั้ง โดยที่ไม่ทะลุ ทำให้เกิดเป็นเหมือนหัวหยักหรือรูปตัว M ที่ใช้เราเรียก

หัวหยัก หรือตัว M  (Double Top) คลิกเพื่อดูภาพขยาย\

จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่ากราฟรูปแบบ Double Top มีการกลับตัวคือ เปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง และเมื่อราคาทะลุ (Break out) เส้น Neckline แล้ว ราคาก็ยังมีการปรับตัวลงอยู่ตลอด เราจึงสามารถใช้กราฟ Double Top นี้ เป็นสัญญาณเตือนบอกว่า ราคาอาจจะมีการกลับตัวหรือสวนเทรนด์ และยังใช้เป็นสัญญาณบอกจุดเข้าออเดอร์ Sell หากราคาวิ่งทะลุ (Break out) เส้น Neckline แล้ว

 

5.ก้นหยัก หรือตัว w (Double Bottom)

กราฟแท่งเทียนรูปแบบก้นหยัก หรือที่ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Double bottoms มีรูปแบบลักษณะเช่นเดียวกันกับ หัวหยัก จะต่างกันก็เพียงแค่มันกลับหัวเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้คือ มีแรงขายวิ่งเข้ามาชนเส้นแนวรับ 2 ครั้ง โดยที่ไม่สามารถทะลุเส้นแนวรับได้ นี่จึงเป็นเหมือนสัญญาณบอกว่า เทรนด์ที่กำลังเป็นอยู่ อาจจะมีการกลับตัว หรือสวนทาง เพราะแรงขายกำลังจะอ่อนตัว หรือหมดกำลังลงไป และถ้าหากเด้งกลับแล้วทะลุ (Break out) เส้น Neckline ขึ้นมา นั่นคือจุดที่เทรดเดอร์ ควรเข้าออเดอร์ Buy ทันที ตามตัวอย่าง

Double-Bottom

 

6.หัวและไหล่ (Head and Shoulders)

กราฟแท่งเทียนที่มีรูปแบบ หัวและไหร่ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่บ่งบอกถึงการกลับตัวของเทรนด์ รูปลักษณ์ของกราฟชนิดนี้ คือจะมีจุดสูงสุด 3 จุด โดยจุดแรกกับจุดสุดท้าย(จุดที่ 3 ) จะมีความสูงเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ส่วนจุดที่ 2 ซึ่งอยู่ตรงกลาง จะสูงกว่าพื้นเพื่อน จึงทำให้เหมือนรูป หัวและไหล่ (Head and Shoulders) ตามที่เราเรียก

ตัวอย่าง กราฟแท่งเทียนรูปแบบหัวและไหร่  (Head and Shoulders)

Head-and-Shoulders

จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่าเทรนด์มีการกลับตัว เปลี่ยนจากขาขึ้นเป็นขาลง เมื่อราคาทะลุแนวรับ (เส้น Neck Line) นั่นคือจุดที่ควรเข้าออเดอร์ sell และควรกำหนดเป้าหมายการทำกำไร ตามระยะห่วงจากจุด Head กับเส้นแนวรับ

 

7.หัวและไหล่กลับหัว (Reverse Head and Shoulders)

กราฟแท่งเทียนที่มีรูปแบบ หัวและไหร่กลับหัว ก็จะเหมือนกับ Head and Shoulders เพียงแต่มันกลับหัวเท่านั้น สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า ราคาอาจจะเกิดการกลับตัวหรือสวนเทรนด์ได้

Reverse-Head-and-Shoulders

จากภาพตัวอย่าง จุดที่ควรเข้าออเดอร์ คือจุดที่ราคาทะลุ (Break out) เส้นแนวต้าน (Neck Line) จะสังเกตเห็นว่า ราคาเริ่มขยับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ และอาจจะมีลงบ้าง แต่ท้ายสุดก็สามารถขยับตัวเป็นขาขึ้นต่อไปในที่สุด